ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก อย่าชะล่าใจ!
ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก อย่าชะล่าใจ!

March 15, 2023

หากคุณมีการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ที่คิดว่าเดียวก็หายและเรามักไม่เอะใจเวลามีอาการ แต่เมื่อเป็นๆหายๆแทบทุกวัน หรือแม้กระทั่งทุกอาทิตย์ ต้องเอะใจแล้วค่ะ

อาจเป็นอาการของโรค IBD (Inflammatory Bowel Disease) ภูมิแพ้ลำไส้ตัวเอง หรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่ดูเหมือนเล็กน้อย แต่ถ้าปล่อยไว้อาจทรมานถึงชีวิต!

IBD แบ่งเป็น 2 โรคหลักๆ

1. โรคลําไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง (Ulcerative colitis, UC)

> เป็นโรคที่เกิดบริเวณลำไส้ใหญ่เท่านั้น ซึ่งการอักเสบเกิดเฉพาะเนื้อเยื่อชั้นตื้นๆ และมักเป็นที่ไส้ตรงเหนือทวารหนักขึ้นไป ส่วนการอักเสบจะลุกลามสูงขึ้นไปเท่าใดก็ได้แล้วแต่ความรุนแรงของโรคเลยค่ะ
> ผู้ป่วยมักมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ถ่ายปนมูกหรือเลือดสด ปวดเกร็งในช่องท้อง นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ข้ออักเสบ เป็นไข้ ตับอักเสบ เป็นต้น

2. โรคโครห์น (Crohn's disease, CD)

> เป็นโรคที่พบได้ทุกส่วนของระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ส่วนมากมักพบที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ส่วนต้น พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย
> อาการของโรคโครห์นมีความหลากหลาย เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายปนมูกหรือเลือดสด เป็นไข้ น้ำหนักตัวลดลง อาจพบภาวะทุพโภชนาการ ภาวะซีด หรือโลหิตจาง ร่วมด้วย ผู้ป่วยที่เป็นโรคโครห์นบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายและทวารหนัก หากการอักเสบมีความรุนแรงอาจเกิดเป็นแผลลึกจนทะลุไปอวัยวะอื่นที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณผิวหนังรอบทวาร

โรค IBD มีสาเหตุมาจากอะไร?

> เชื้อชาติหรือปัจจัยทางพันธุกรรม
> ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ระบบภูมิคุ้มกันที่มากผิดปกติจนไปทำลายเนื้อเยื่อของทางเดินอาหารด้วย ทำให้เกิดการอักเสบ
> ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและสังคม การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในลำไส้
> ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เกิดโรค เช่น นม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ อาหารขยะ บุหรี่ หรือความเครียด

เราสามารถรักษาและจัดการกับโรค IBD ได้อย่างไร?

1. การใช้ยา
2. การดูแลอาหารการกิน
3. การผ่าตัด
4. ทานอาหารเสริมโปรไบโอติก เพื่อช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้และระบบภูมิคุ้มกัน

เมนี่มอร์ เวลเนส เป็นห่วงสุขภาพคุณเสมอ

คำเตือน: โรคนี้มีอาการคล้ายคลึงกับโรคอื่นไม่ควรวินิฉัยเอง หากมีอาการดังกล่าว เราแนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิฉัยให้ชัดเจนนะคะ

#ibd #crohndisease #ulcerativecolitis #ibs #autoimmune #probiotics #ลำไส้อักเสบสบเรื้อรัง #ลำไส้แปรปรวน #แพ้ภูมิตัวเอง #โปรไบโอติก #manymoreswellllness