March 15, 2023
โรคที่คนเป็นกันเยอะแต่ไม่รู้ตัวกัน และไม่ควรมองข้ามนะคะ
เพราะถึงแม้ว่าโรคลำไส้แปรปรวนนี้อาจจะไม่ร้ายแรงหรืออันตรายจนถึงชีวิต แต่ก็ยังมีผลอย่างมากต่อชีวิตของคุณ ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานไปอาจจะลุกลามจนเป็นเรื้อรัง กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในทุกวันและชีวิตส่วนตัว จนทำให้ชีวิตเราไม่มีความสุขเลย
หากใครยังไม่รู้จักโรคลำไส้แปรปรวนนี้ โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) เป็นโรคทั่วไปที่ส่งผลต่อลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นภาวะเรื้อรังที่คุณต้องจัดการกับมันในระยะยาว
โรคลำไสเแปรปรวนมีด้วยกัน 3ประเภท:
1. IBS ที่มีอาการท้องร่วง (IBS-D)
2. IBS ที่มีอาการท้องผูก (IBS-C)
3. IBS กับนิสัยลำไส้ผสม (IBS-M)
???????????????? ???????????????????????? ????????????? (สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน)
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปัญหาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมองกับลำไส้ หรือวิธีที่สมองและลำไส้ทำงานร่วมกันนั่นเอง และปัจจัยเหล่านี้อาจมีบทบาทในการทำให้เกิด IBS ซึ่งได้แก่:
> พันธุกรรม
> การติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร
> การอักเสบในลำไส้
> การเจริญเติบโตของแบคทีเรียไม่ดีในลำไส้
> การแพ้อาหารหรือแพ้ง่าย
> ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
> เหตุการณ์ในวัยเด็กที่เครียดหรือยากเช่นการล่วงละเมิดทางร่างกายหรือทางเพศ
> ความผิดปกติทางจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และอาการผิดปกติทางร่างกาย
???????????? ???????????????????????????????? (อาการของลำไส้แปรปรวน)
> โรคท้องร่วง/ท้องเสีย
> ปวดท้อง และเป็นตะคริวง่าย
> อาการท้องผูก
> แก๊สและท้องอืด
> การแพ้อาหาร (อาหารกระตุ้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่จะแพ้ แลคโตสและกลูเตน เป็นต้น)
> เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย อารมณ์ไม่ดี
> นอนหลับยาก และนอนหลับไม่สนิท
> มีความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า
*ในผู้ป่วยผู้หญิงอาการอาจกำเริบง่ายในช่วงมีประจำเดือน หรืออาจมีอาการมากขึ้นในช่วงเวลานี้ และยังมีรายงานว่ามีอาการบางอย่างเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
???????????????? ???????? ???????????? ???????????????????????????????????? ???????????? ????????????? (วิธีรักษาและป้องกัน)
ขณะนี้ยังไม่พบวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาให้โรคสงบและกำเริบยาก หรือป้องกันให้ไม่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนนี้ได้ โดยวิธีต่อไปนี้:
1.การเปลี่ยนแปลงอาหารการกิน
> เพิ่มใยอาหารให้มากขึ้น
> เลี่ยงอาหารที่มีกลูเตน
> ทานอาหารที่มี FODMAP ต่ำ
2.ทานโปรไบโอติก ที่ไม่มีส่วนผสมของ Dairy
3.ออกกำลังกาย
4.พยายามไม่เครียด เช่น นั่งสมาธิ
5.ฝึกหัดการหายใจช่วยได้
> โยคะ
> ไทเก็ก
6.นอนหลับให้เพียงพอ
7.ใช้ยารักษา ตามประเภท IBS ที่เป็น
(ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานะคะ ไม่ควรทานเอง)
ส่วนใครที่ไม่เป็นถือว่าโชคดีมากๆค่ะ และอย่าลืมดูตัวเองดูแลสมดุลแบคทีเรียดีในลำไส้เราให้ดีโดยการทานโปรไบโอติกเพื่อเพิ่มแบคทีเรียดีให้ร่างกาย และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลำไส้แปรปรวนนี้กันนะคะ
รู้แบบนี้แล้ว..
อย่าปล่อยให้ลำไส้แปรปรวนรบกวนชีวิตกันนะคะ มาดูแลสุขภาพลำไส้เพื่อชีวิตที่ดีมีความสุขกันค่ะ
เรื่องสุขภาพ เรื่องของเมนี่มอร์เวลเนส
#manymoreswellness #premiumprobiotics #foribs